ความเป็นมาของเวทีมวย

ความเป็นมาของเวทีมวย

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

ความเป็นมาของเวทีมวย



ความเป็นมาของเวทีมวย

 

มวยไทย เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย  ปัจจุบันนี้  ใคร ๆ ก็นิยมฝึกมวยไทย และยังเป็นการออกกำลังกายยอดฮิตของคนทำงานในยุคนี้ด้วย  มวยไทยนั้นก็มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน  และน่าสนใจ  แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่ง  ที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับมวยไทยเช่นกัน นั่นก็คือ  เวทีมวย  เราจะพาทุกคนไปดูเรื่องราวของเวทีมวยกัน

 

ประวัติสนามมวยเวทีราชดำเนิน

อดีตนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม  มีคำสั่งให้สร้างสนามมวยบนถนนราชดำเนินในปี พ.ศ. 2484 คำสั่งดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลได้ออกกฎหมายเวนคืนที่ดิน  และแจ้งไปยังบรรดาเจ้าของที่ดินตามแนวถนนราชดำเนิน  เพื่อที่รัฐบาลจะได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ให้เป็นไปตามผังเมืองที่กำหนดไว้  สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้รับการมอบหมายให้รับผิดชอบโครงการนี้  ในเบื้องต้นได้มีการกำหนดให้สร้างสนามมวย ณ บริเวณสนามมิสกวัน  มุมถนนพิษณุโลกและถนนราชดำเนินนอก  ต่อมาได้มีการพิจารณาให้เปลี่ยนจากสถานที่ที่กำหนดไว้แต่เดิม  มาเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน  เนื่องจากสถานที่เดิมมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับสนามมวย  ปัจจุบันนามมวยยังคงตั้งอยู่บนถนนราชดำเนินนอก  ตัดกับถนนพะเนียง  ตรงข้ามกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

บริษัทอิมเพรซี่ อิตาเลี่ยน ออล เฮ็สเตโร – โอเรียนเต เป็นผู้ทำสัญญาก่อสร้างสนามในปี พ.ศ. 2484 โครงการได้เริ่มขึ้น  โดยมีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 1 มีนาคม  โครงการต้องหยุดชะงักในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง  ในปี พ.ศ. 2487 นายปราโมทย์ พึงสุนทร  ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ  ในขณะนั้น  ได้นำโครงการก่อสร้างสนามมวยเข้าสู่วงการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง  ท่านได้นำเสนอแผนงานต่อท่านผู้อำนวยการฯ พ.อ. สุวรรณ เพ็ญจันทร์  ซึ่งเห็นชอบ  และมีคำสั่งให้ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จต่อไป

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง  การก่อสร้างที่ค้างอยู่ก็เริ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนสิหาคม พ.ศ. 2488 และกินเวลาสี่เดือนจึงจะแล้วเสร็จ  และในที่สุดสนามมวยแห่งชาติ  ก็พร้อมสำหรับการแข่งขันนัดแรกในวันที่ 23 ธันวาคม  โดยมีนายปราโมทย์ พึงสุนทร  เป็นผู้จัดการสนามมวยหรือนายสนามมวย  และท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้จนกระทั่งเกษียรตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ  ในปี พ.ศ. 2490

นายประหลาด อิศรากูล  ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ  ในขณะนั้นเข้ารับหน้าที่แทนนายปราโมทย์  และดำรงตำแหน่งผู้จัดการสนามมวยอยู่นานสองปี  จากนั้นนายเชี่ยวสกุลก็ได้เข้ามารับหน้าที่แทน

นายเฉลิมเล็งเห็นถึงปัญหาและความไม่สะดวกนานาประการในการจัดการแข่งขันมวยในที่แจ้ง  จึงเสนอให้สร้างหลังคาคลุมพื้นที่ทั้งหมด  ม.ล. ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯในขณะนั้นเห็นชอบและมอบให้ บริษัทคริสตินี นีลสัน (ประเทศไทย) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างหลังคา  พร้อมทั้งต่อเติมที่นั่งให้มากขึ้น  ทำให้สนามมวยแห่งนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์เป็นสนามมวยได้มารฐานในปี พ.ศ. 2494

ตลอดระยะเวลา 7 ปี  ภายใต้การดำเนินงานของสำนักทรัพย์สินฯ  สนามมวยราชดำเนินประสบกับการขาดทุนมาโดยตลอด  สำนักทรัพย์สินฯ  จึงมีแผนที่จะวางมือ  และเสนอให้องค์กรเอกชนเช่าสถานที่  และดำเนินกิจการกันเอง (โดยมีเงื่อนไขว่าองค์กรดังกล่าวต้องมีคนไทยเป็นเจ้าของ)  นายเฉลิม  ซึ่งยังดำรงตำแหน่งผู้จัดการสนามมวยอยู่ในขณะนั้น  มีความเห็นว่าไม่เหมาะสม  ที่จะให้องค์กรหรือบุคคลนอกจากวงการมวยมาบริหารและดำเนินกิจการสนามมวย  จึงขออนุมัติจากสำนักงานทรัพย์สินฯ  ให้ตนเป็นผู้ดำเนินกิจการสนามมวย  และได้ก่อตั้งบริษัทราชดำเนิน จำกัด  ขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2496

ตั้งแต่เริ่มกิจการ บริษัท ราชดำเนิน จำกัด  ได้จัดการแข่งขันมวย ณ เวทีสนามมวยราชดำเนินมาตลอด  และได้ทำการขยายและปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค  คลอดจนพัฒนามวยอย่างต่อเนื่อง  จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสนามมวยที่มีชื่อเสียงในระดับสากล  และเป็นสถาบันมวยไทยแห่งหนึ่งในประเทศไทย 

ขอบคุณข้อมูลจากคุณ สนอง คูณมี

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

วิวัฒนาการของมวยไทย ในแต่ละสมัย

เคล็ดไม่ลับ มวยไทย



บทความที่น่าสนใจ

ลดพุง ลดโรค ด้วยมวยไทย
กว่าจะเป็น นักชก มวยไทย ( Muay Thai )