เครื่องดนตรีประกอบ มวยไทย

เครื่องดนตรีประกอบ มวยไทย

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

เครื่องดนตรีประกอบ มวยไทย



เครื่องดนตรีไทยถือว่ามีมาอย่างยาวนาน ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในงานมหรสพต่าง ๆ เช่น งานบวช งานแต่ง ทำบุญบ้าน งานฌาปนกิจ หรือแม้กระทั่งการต่อย มวยไทย จนทุกวันนี้ไม่ว่าจะมีงานอะไรก็ต้องมีดนตรีประกอบในงานของคนไทยไปเสียแล้ว

 

     องค์ประกอบที่สำคัญ และเป็นส่วนสร้างบรรยากาศให้แก่การไหว้ครู และร่ายรำ มวยไทย รวมทั้งการแข่งขันชกมวยนั้น คือ วงดนตรีปี่กลองซึ่งมีจังหวะ และท่วงทำนองช้า และเร็วตามช่วงเวลาของการแข่งขัน เมื่อเริ่มไหว้ครูท่วงทำนองก็จะช้าเนิบนาบช่วยให้ลีลาในการร่ายรำไหว้ครูดูอ่อนช้องดงามเป็นจังหวะน่าชม และเมื่อเริ่มการแข่งขันเสียงดนตรีก็เริ่มมีจังหวะเร็วขึ้น บอกให้ผู้ได้ยินได้ชมรู้ว่าขณะนั้นนักมวยกำลังใช้ชั้นเชิงต่อสู้กันอยู่ในสังเวียน  และเมื่อถึงยกสุดท้ายจังหวะดนตรียิ่งเร่งเร้าขึ้น เร้าใจให้นักมวยได้เร่งพิชิตคู่ต่อสู้ และเร้าใจผู้ชมมวยรอบสนามให้ตื่นเต้นกับผลการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้า จังหวะดนตรีจึงเป็นส่วนสร้างความรู้สึกของนักชก และผู้ชมรอบสนามให้สนุกสนานตื่นเต้นกับการแข่งขันได้อย่างน่าอัศจรรย์

     เครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงประกอบการแข่งขันชก มวยไทย มีชื่อเรียกว่า “วงปี่กลอง” มีนักดนตรีร่วมบรรเลงดนตรีโดยทั่วไปจำนวน 4 คนเครื่องดนตรีประกอบด้วยปี่ชวา 1 เลา กลองแขก 2 ใบ และฉิ่ง 1 คู่

 

          ปี่ชวา

     ทำเป็น 2 ท่อนเหมือนปี่ไฉน คือ ท่อนเลาปี่ยาวราว 27 ซม. ท่อนลำโพงยาวราว 14 ซม. เจาะรูนิ้ว รูปร่างลักษณะเหมือนปี่ไฉนทุกอย่างแต่มีขนาดยาวกว่าปี่ไฉน กล่าวคือ ปี่ชวาเมื่อสวมท่อนลำโพง และเลาปี่เข้าด้วยกันแล้ว ยาวประมาณ 38–39 ซม. ตรงปากลำโพงกว้างขนาดเดียวกับปี่ไฉน ทำด้วยไม้จริงหรืองา ส่วนที่ทำต่างจากปี่ไฉนก็คือ ตอนบนที่ใส่ลิ้นปี่ทำให้บานออกเล็กน้อย ลักษณะของลิ้นปี่เหมือนกับลิ้นปี่ไฉน ต่างแต่มีขนาดยาวกว่าเล็กน้อย แม้เราจะไม่รู้ที่มาของปี่ชวาแต่ชื่อของปี่ชนิดนี้บอกตำนานอยู่ในตัว และโดยเหตุที่มีลักษณะรูปร่างเหมือนปี่ไฉนของอินเดีย จึงเข้าใจว่าชวาคงได้แบบอย่างมาจากปี่ไฉนของอินเดีย เป็นแต่ดัดแปลงให้ยาวกว่า เสียงที่เป่าออกมาจึงแตกต่างไปจากปี่ไฉน เรานำปี่ชวามาใช้แต่เมื่อไรไม่อาจทราบได้แต่คงจะนำเข้ามาใช้คราวเดียวกับกลองแขก และเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นนั้น ปรากฏว่าเรามี ปี่ชวาใช้ในกระบวนพยุหยาตราเสด็จพระราชดำเนินแล้ว เช่น มีกล่าวถึงใน “ลิลิตยวนพ่าย” ว่า

“สรวญศรัพทพฤโฆษฆ้อง กลองไชย

ทุมพ่างแตรสังข์ ชวา    ปี่ห้อ”

     ซึ่งคงจะหมายถึง ปี่ชวา และปี่ห้อหรือปี่อ้อ ปี่ชวาใช้คู่กับกลองแขก ( ชวา ) เช่น เป่าประกอบการเล่นกระบี่กระบอง และประกอบการแสดงละครเรื่องอิเหนา ตอนรำกริช และใช้ในวงปี่พาทย์นางหงส์กับใช้ในวงดนตรีที่เรียกว่าวงปี่ชวากลองแขก หรือวงกลองแขกปี่ชวา วงเครื่องสายปี่ชวา และวงบัวลอย ทั้งนำไปใช้เป่าในกระบวนแห่ ซึ่ง “จ่าปี่” เป่านำ กลองชนะในกระบวนพยุหยาตราด้วย

 

          กลองแขก

     รูปร่างยาวเป็นกระบอก หน้าหนึ่งใหญ่ เรียกว่า “หน้ารุ่ย” กว้างประมาณ 20 ซม. อีกหน้าหนึ่งเล็กเรียกว่า “หน้าด่าน” กว้างประมาณ 17 ซม. หุ่นกลองยาวประมาณ 57 ซม. ทำด้วยไม้จริงหรือไม้แก่น เช่น ไม้ชิงชัน หรือไม้มะริด ขึ้นหนัง 2 หน้าด้วยหนังลูกวัว หรือหนังแพะ ใช้เส้นหวายผ่าซีกเป็นสายโยงเร่งเสียง โยงเส้นห่าง ๆ แต่ต่อมาในระยะหลังนี้คงจะใช้ไม่ได้ เนื่องจากหาหวายใช้ไม่สะดวก บางคราวจึงใช้สายหนังโยงก็มี สำรับหนึ่งมี 2 ลูก ลูกเสียงสูง เรียกว่า “ตัวผู้” ลูกเสียงต่ำเรียกว่า “ตัวเมีย” ตีด้วยฝ่ามือทั้งสองหน้าให้เสียงสอดสลับกันทั้งสองลูก กลองแบบนี้เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “กลองชวา” เพราะเข้าใจว่าเราได้แบบอย่างมาจากชวา ในวงปี่พาทย์ของชวาก็มีกลอง 2 ชนิดคล้ายกันนี้ แต่รูปกลองตอนกลางป่องโตมากกว่าของไทย เราคงจะนำกลองชนิดนี้มาใช้ในวงดนตรีของไทยมาแต่โบราณในกฎหมายศักดินามีกล่าวถึง “หมื่นราชาราช” พนักงานกลองแขก นา 200 และมีลูกน้อง เรียกว่า “ชาวกลองเลวนา 50” บางทีแต่เดิมคงจะนำเข้ามาใช้ในขบวนแห่นำเสด็จพระราชดำเนิน เช่น กระบวนช้าง และกระบวนเรือ และใช้บรรเลงร่วมกับปี่ชวาประกอบการเล่นกระบี่กระบอง เป็นต้น ภายหลังจึงนำมาใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ของไทย เมื่อครั้งนำละครอิเหนาของชวามาเล่นเป็นละครไทยในตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ใช้ในเมื่อละครรำเพลงกริช เป็นต้นต่อมานำมาใช้ตีกำกับจังหวะแทนตะโพนในวงปี่พาทย์ และใช้แทนโทนกับรำมะนา ในวงเครื่องสายด้วย

 

          ฉิ่ง

     เป็นเครื่องตีทำด้วยโลหะ หล่อหนา เว้ากลางปากผายกลม รูปคล้ายถ้วยชาไม่มีก้น สำรับหนึ่งมี 2 ฝา แต่ละฝาวัดผ่านศูนย์กลางจากสุดขอบข้างหนึ่งไปสุดขอบอีกข้างหนึ่งประมาณ 6 ซม. ถึง 6.5 ซม. เจาะรูตรงกลางเว้าสำหรับร้อยเชือก เพื่อสะดวกในการถือตีกระทบกันให้เกิดเสียงเป็นจังหวะ ฉิ่งที่กล่าวนี้สำหรับใช้ประกอบวงปี่พาทย์ ส่วนฉิ่งที่ใช้สำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรี มีขนาดเล็กกว่านั้นคือ วัดผ่านศูนย์กลางเพียง 5.5 ซม.ที่เรียกว่า “ฉิ่ง” ก็คงจะเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้นจากการเอาขอบของฝาหนึ่งกระทบเข้ากับอีกฝาหนึ่งแล้วยกขึ้น จะได้ยินเสียงกังวานยาวคล้าย “ฉิ่ง” แต่ถ้าเอา 2 ฝานั้นกลับกระทบประกบกันไว้ จะได้ยินเสียงสั้นคล้าย“ฉับ” เครื่องตีชนิดนี้ สำหรับใช้ในวงดนตรีประกอบการขับร้องฟ้อนรำ และการแสดงนาฏกรรม โขน ละคร

 

          การบรรเลงประกอบ มวยไทย ใช้เพลงอะไรบ้าง ?

  • เพลงประกอบการรำไหว้ครู มวยไทย ก่อนที่จะเริ่มการแข่งขันนัก มวยไทย ทุกคนจะรำไหว้ครู มวยไทย เพื่อระลึกถึงพระคุณครู มวยไทย ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ โดยบทเพลงที่ใช้ในช่วงการรำไหว้ครู มวยไทย คือ เพลงโยนในสะระหม่าไทย
  • เพลงในระหว่างชกยกที่ 1 จะใช้เพลงแขกเจ้าเซ็นสองชั้น
  • เพลงอัตราจังหวะสองชั้นทั่วไป เช่น แขกเชิญเจ้า พราหมณ์เข้าโบสถ์ หรือเพลงในอัตรา 2 ชั้น และชั้นเดียวใช้บรรเลงระหว่างยกที่ 2 ถึงยกที่ 5
  • เพลงเชิด ใช้บรรเลงในระหว่างการชกซึ่งใกล้หมดเวลาทาการแข่งขันในยกสุดท้าย ส่วนของหน้าทับกลองที่

ประกอบกับการบรรเลงคู่กับปี่ชวา โดยใช้กลองแขกบรรเลงนั้น ในวงปี่มวยนั้นจะมีการ แบ่งใช้หน้าทับดังต่อไปนี้

          - หน้าทับโยน ใช้บรรเลงประกอบกับเพลงโยนซึ่งขณะบรรเลงอยู่ในช่วงของการรำไหว้ครู มวยไทย

          - หน้าทับแขกเจ้าเซ็นสองชั้น ใช้เมื่อบรรเลงประกอบในเวลาทำการแข่งขันโดยจะตีหน้าทับเจ้าเซ็นไปตลอดไม่มีเปลี่ยน แม้ปี่ชวาจะบรรเลงเพลงใด ๆ ก็ตาม

           - หน้าทับเชิด ใช้บรรเลงในช่วงใกล้หมดเวลาในการแข่งขันยกสุดท้าย

     กล่าวได้ว่าการบรรเลงแต่ละครั้งจะเริ่มต้นที่การเป่าเพลงโยน ให้นักมวยไหว้ครู ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 2 นาที จากนั้นเมื่อระฆังตีให้สัญญาณการชกยกที่ 1 นักดนตรีปี่มวยจะบรรเลงเพลงแขกเจ้าเซ็น ซึ่งจะสามารถบรรเลงเพลงนี้ในทุก ๆ ยกจนถึงช่วง 1 นาทีสุดท้าย ธรรมเนียมปฏิบัติของการบรรเลงวงปี่มวยลุมพินีจะต้องเปลี่ยนเพลงบรรเลงไปเป็นเพลงเชิด ชั้นเดียว ซึ่งความหมายในการบรรเลงเพลงเชิดนั้นคือการแจ้งให้รู้เป็นสัญญาณว่าใกล้จะหมดเวลาในการแข่งขันชกมวย ในส่วนบทเพลงที่นักดนตรีปี่มวยลุมพินีบรรเลงในยกที่ 2 ถึง 4 และยกที่ 5 ในสองนาทีแรก เพลงไม่ได้ถูกกาหนดไว้ตายตัวว่าจะต้องใช้เพลงใดบรรเลง แต่โดยส่วนมากนักดนตรีปี่มวยสนามมวยลุมพินี เช่นจ่าสิบเอกช้อย เพิ่มผล สิบตรีสมนึก บุญจาเริญ พันโทเสนาะ หลวงสุนทร จ่าสิบเอกทวี ไทยพยัคฆ์ จะนิยมใช้เพลงในสาเนียงแขก ซึ่งมีอัตราจังหวะชั้นเดียวหรือ 2 ชั้น ซึ่งในบทเพลงสาเนียงอื่น ๆ นั้น สามารถนามาใช้ได้ไม่ได้ผิดแปลกอย่างใด ซึ่งเหตุผลที่ทาให้นักดนตรีปี่มวยลุมพินีนิยมการบรรเลงเพลงสาเนียงแขกนั้น มาจากการเริ่มต้นบรรเลงเพลงแรกในการแข่งขันยกที่ 1 เริ่มต้นด้วยเพลงแขกเจ้าเซ็น ซึ่งเป็นเพลงสาเนียงแขก จึงได้นิยมเลือกเพลงที่สาเนียงเดียวกันเป่าต่อไปยังยกต่อ ๆ ไปจนถึงจบ หรือเลือกเพลงลูกทุ่งหรือเพลงสมัยนิยมมาบรรเลงประกอบกับการชกมวย

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

มวยไทย VS มวยสากล

กติกาสังเวียนมวยไทย



บทความที่น่าสนใจ

เคล็ดลับการเล่น มวยไทยลดน้ำหนัก เพื่อหุ่นที่ดีของคุณ
มวยไทย ( Muay Thai ) ผู้สูงอายุ ก็ฝึกได้