มวยไทย ( Muay Thai ) เป็นศิลปะการต่อสู้ที่ไม่เหมือนชาติใด ส่วนใหญ่เราก็คงเคยได้ยินเฉพาะแม่ไม้ มวยไทย แต่รู้ไหมว่า ลูกไม้ มวยไทย ก็มีด้วยเช่นกัน มาทำความรู้จักกันเลย
มวยไทย ( Muay Thai ) นั้นสามารถใช้อวัยวะทุกส่วนในร่างกายเป็นอาวุธได้หมด เช่น การออกอาวุธยาว หมายถึง การใช้เท้าเตะ รองจากการออกอาวุธยาว คือ การออกอาวุธเข่า และศอก การออกที่ใช้อวัยวะหมัด ศอก เท้า เข่า และศีรษะได้อย่างครบทุกส่วนแล้ว เมื่อเข้าประชิดตัวต้องสามารถกอดรัด ปล้ำ หัก จับ ทุ่ม โขก คู่ต่อสู้ได้ทั้งรุก และรับอย่างชำนาญ การฝึกหัด มวยไทย ( Muay Thai ) นั้นต้องใช้ความพยายาม และอดทนต่อความเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้น การฝึกต้องใช้เวลานานอาจจะเริ่มตั้งแต่เด็กที่มีอายุประมาณ 9-10 ปี ต้องเรียนรู้จริยธรรมคุณธรรมสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองไม่ให้โมโห หรือโกรธได้อย่างง่าย ๆ เพราะเป็นช่องทางที่จะทำให้เสียเปรียบคู่ต่อสู้ได้ง่ายเกิดจากความขาดสติยับยั้ง และความสุขุมรอบคอบไม่สามารถใช้ความคิดของตนเองให้เกิดไหวพริบได้
ลักษณะลีลาของ มวยไทย ( Muay Thai )
1. มวยหลัก หรือ มวยแข็ง
หมายถึง มีวิธีการต่อสู่อย่างรัดกุม สุขุมรอบคอบ ทั้งท่าคุมมวย และจดมวยให้มั่นคง กาเคลื่อนตัวควรก้าวอย่างเต็มไปด้วยความระมัดระวังอาจจะทำให้ดูเหมือนเชื่องช้า แต่ลักษณะประเภทนี้จะถูกสอนให้ตั้งรับ และรอจังหวะสุขุมเยือกเย็น มีลำหักลำโค่นดีใช้ศิลปะ มวยไทย ( Muay Thai ) ได้หนักหน่วง รุนแรง และแม่นยำ ลีลาของ มวยไทย ( Muay Thai ) ลักษณะนี้เหมาะกับคนรูปร่างใหญ่ และใจเย็นฝึกฝนมวยหลัก
2.มวยเกี้ยว หรือ มวยอ่อน
หมายถึง มีวิธีการต่อสู้ที่ใช้ชั้นเชิงแพรวพราว การเข้าทำคู่ต่อสู้ จะไม่หยุดนิ่ง เคลื่อนตัวไปมา ทั้งซ้าย และขวาสลับกันจึงทำให้คู่ต่อสู้จับทางมวยยาก มวยเกี้ยวจะมีลีลาท่าทางที่คล่องแคล่วว่องไว หลบหลีก หลอกล่อ และมีสายตาที่ดี การฝึกนั้นถึงขั้นต้องเยื้องย่างในน้ำ ตีน้ำให้กระเซ็น ห้ามหลับตา แรงต้านของน้ำจะช่วยให้เมื่ออยู่บนบกจะสามารถรุกรับ ออกอาวุธได้อย่างรวดเร็วทั้งเท้า เข่า หมัด และศอก ลีลาของมวยไทย ( Muay Thai ) ลักษณะนี้เหาะสำหรับคนที่มีรูปร่างเล็ก ผอมเพรียว จะสามารถฝึกหัดมวยเกี้ยวได้ดี
มวยหลัก และมวยเกี้ยวต่างก็มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดอยู่แล้ว คือ มวยหลักนั้นจะมีความรุนแรงในการใช้ ศอก เขา เท้า ส่วนมวยเกี้ยวนั้นจะใช้ศอก เข่า เท้า ได้อย่างรวดเร็ว และฉับไวกว่า และไม่รุนแรงเท่ามวยหลัก แต่มวยหลัก และมวยเกี้ยวนั้นต่างขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวบุคคลสำหรับผู้ที่มีรูปร่างไม่ใหญ่ไม่เล็กจนเกินไปก็สามารถฝึกฝนผสมผสานกันระหว่างมวยหลัก และมวยเกี้ยวได้ คือ มีทั้งความรุนแรงในการใช้ศอก เข่า เท้า และความคล่องแคล่วว่องไว การฝึกฝนที่ดีควรจะเป็นทั้งมวยหลัก และมวยเกี้ยว คือ ตีทั้งวงนอก และวงใน ถนัดทั้งรุก และรับ เพราะฉะนั้นการฝึกแม่ไม้ และลูกไม้ควรฝึกฝนหลายรูปแบบ ซึ่งจะใช้เวลานาน และต้องมีความอดทนฝึกฝนตลอดปีติดต่อกันเป็นขั้นตอนมีระบบ และระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน
แม่ไม้ มวยไทย กับลูกไม้ มวยไทย
แม่ไม้ มวยไทย กับลูกไม้ มวยไทย คือ กระบวนท่าศิลปะป้องกันตัวทั้งรุก และรับที่มีท่าทางที่สวยงาม และน่าเกรงขามเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ที่บรรพบุรุษของคนไทยได้คิดสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด ซึ่งมีวิวัฒนาการมาเป็นพันปี และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สั่งสมสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน แม่ไม้ มวยไทย ( Muay Thai ) ที่สำคัญในการฝึกอันเป็นพื้นฐานของการใช้ไม้ มวยไทย ( Muay Thai ) ซึ่งผู้ฝึกจะต้องเรียนรู้ และปฏิบัติให้เกิดความชำนาญก่อนที่จะมาฝึกลูก มวยไทย ( Muay Thai ) ถือว่าทั้งแม่ไม้กับลูกไม้ มวยไทย ( Muay Thai ) นั้นเป็นการฝึกอย่างละเอียด
1. แม่ไม้มวยไทย ( Muay Thai )
ประกอบไปด้วย 15 ท่า ดังนี้
- สลับฟันปลา
- ปักษาแหวกรัง
- ชวาซัดหอก
- อิเหนาแทงกริช
- ยอเขาพระสุเมรุ
- ตาเถรคาฝัก
- มอญยันหลัก
- ปักลูกทอย
- จระเข้ฟาดหาง
- หักงวงไอยรา
- ปิดหางนาคา
- วิรุฬหกกลับ
- ดับชวาลา
- ขุนยักษ์จับลิง
- หักคอเอราวัณ
2. ลูกไม้มวยไทย ( Muay Thai )
ประกอบไปด้วย 15 ท่า ดังนี้
- เอราวัณเสยงา
- บาทาลูบพักตร์
- ขุนยักษ์พานาง
- พระรามน้าวศร
- ไกรสรข้ามห้วย
- กวางเหลียวหลัง
- หิรัญม้วนแผ่นดิน
- นาคามุดบาดาล
- หนุมานถวายแหวน
- ยวนทอดแห
- ทะแยค้ำเสา
- หงส์ปีกหัก
- สักพวงมาลัย
- เถรกวาดลาน
- ฝานลูกบวบ
แม่ไม้ มวยไทย กับลูกไม้ มวยไทย เป็นการผสมผสานการใช้อาวุธ หมัด เท้า เข่า ศอก เพื่อการรุก หรือรับในการต่อสู่ของ มวยไทย ( Muay Thai )และถ้านำไปผสมผสานกับมวยหลัก และมวยเกี้ยวก็จะยิ่งทำให้พลิกแพลงไปใช้กับคู่ต่อสู้ได้มากมาย
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม