สิ่งที่จำเป็นต้องมีบนสังเวียน มวยไทย

สิ่งที่จำเป็นต้องมีบนสังเวียน มวยไทย

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

สิ่งที่จำเป็นต้องมีบนสังเวียน มวยไทย



นอกจากการเอาชนะคู่ต่อสู้ด้วย กลยุทธ์วิถีเทคนิคต่าง ๆ ของศิลปะการต่อสู้บนเวทีของ มวยไทย อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดตัดสิน และชี้ขาดแพ้-ชนะ บนเวทีได้ก็คือ หน้าที่ของตำแหน่งกรรมการ แล้วกรรมการสำคัญอย่างไรมาดูกันค่ะ

 

     กรรมการบนเวที มวยไทย นับว่าเป็นตำแหน่งที่สาม ที่มักจะประกบคู่นักมวยทั้งสอง คอยตรวจเช็ค ความถูกต้อง และกฎกติกาการชกบนเวที และกรรมการที่นั่งชมอยู่ด้านล่างข้างเวที เป็นผู้ชี้ขาด และเป็นผู้ตัดสินบนเวที ที่นักมวยทุกคน ต้องมีความเกรงใจ และให้เกียรติในการต้องทำตามกฎ วันนี้เราจะมาให้ความรู้ถึงความสำคัญของกรรมการ บนเวที มวยไทย ว่าเราต้องมีเขาไว้เพื่ออะไร

 

     ผู้ชี้ขาด คือ ผู้ที่มีความรับผิดชอบอันดับแรก การระมัดระวัง การดูแลเอาใจใส่ผู้แข่งขันไม่ให้เกิดบาดเจ็บหรือบอบช้ำเกินควร หน้าที่ของผู้ชี้ขาด ผู้ชี้ขาดต้องปฏิบัติหน้าที่ในสังเวียน ต้องแต่งกายด้วยกางเกงขายาวสีกรมท่า เสื้อเชิ้ตสีขาวผูกหูกระต่ายสีกรมท่า รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อชนิดเบา ไม่มีสน สีดำ สวมถุงมือแพทย์ การเตือน ผู้ชี้ขาดอาจเตือนผู้แข่งขันได้ การเตือนเป็นการแนะนำให้ผู้แข่งขันระมัดระวัง หรือป้องกันไม่ให้กระทำสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ที่เป็นการละเมิดกติกาที่รุนแรงนัก ในการนี้ไม่จำเป็นต้องหยุดการแข่งขันแต่หาโอกาสที่เหมาะสมเตือนผู้แข่งขันที่ทำผิดกติกาในระหว่างการแข่งขันนั้นได้ การตำหนิโทษ ถ้าผู้แข่งขันละเมิดกติกา แต่ความผิดนั้นไม่ถึงขั้นให้ออกจากการแข่งขันผู้ชี้ขาดต้องหยุดการแข่งขัน และสั่งตัดคะแนนแก่ผู้ละเมิดกติกานั้น ในการสั่งตัดคะแนนผู้ชี้ขาดต้องกระทำอย่างชัดแจ้งเพื่อให้ผู้แข่งขันเข้าใจเหตุผล และความมุ่งหมายของการสั่งตัดคะแนนนั้น ผู้ชี้ขาดจะต้องให้สัญญาณมือแก่ผู้ตัดสินทุกคนว้าได้มีการตัดคะแนนและชี้ตัวผู้แข่งขันที่สั่งตัดคะแนน ถ้าผู้แข่งขันถูกสั่งตัดคะแนน 3 ครั้งในคู่นั้น เขาจะถูกให้ออกจากการแข่งขัน หลังจากสั่งตัดคะแนนแล้วผู้ชี้ขาดต้องสั่ง “ ชก” การตรวจร่างกาย ของผู้ชี้ขาด ก่อนปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันระดับนานาชาติภายใต้กติกานี้ ผู้ชี้ขาดต้องได้รับการตรวจร่างกายว่าเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์พอที่จะปฏิบัติหน้าที่ในสังเวียนในขณะปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันห้ามผู้ชี้ขาดสวมแว่นตา แต่อนุญาตให้ใช้เลนส์ผลึกได้ และก่อนการแข่งขันทุกครั้งผู้ชี้ขาดต้องเข้าร่วมประชุมที่คณะกรรมการฝ่ายแพทย์จัดขึ้น

 

 

คุณสมบัติของคนเป็นกรรมการ มวยไทย

     คุณสมบัติของกรรมการ ผู้ชี้ขาด ( อยู่บนเวที ) และผู้ตัดสิน ( อยู่ข้างล่าง ) จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปี เว้นแต่คณะกรรมการผู้ตัดสิน จะพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งผู้ชี้ขาด / ผู้ตัดสิน ต่อไปในระยะเวลาที่เห็นสมควร จะต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ว่า เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด / ผู้ตัดสิน และจะต้องผ่านการอบรม, การทดสอบ, การขึ้นทะเบียนผู้ชี้ขาด / ผู้ตัดสิน มวยไทย และได้รับตราพร้อมประกาศนียบัตร ของสภา มวยไทย โลกอีกด้วย

     จำนวนกรรมการผู้ชี้ขาด / ผู้ตัดสิน จะต้องมีกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที 1 คน และกรรมการผู้ตัดสิน 3 คน ทั้งนี้ยังต้องมีประธานผู้ตัดสิน เป็นผู้ควบคุมการแข่งขันอีกด้วย

     กรรมการผู้ชี้ขาด จะต้องรักษากติกา และให้ความเป็นธรรมอย่างเคร่งครัด จะต้องไม่แสดงกริยาวาจาที่ไม่สุภาพต่อนักมวย และผู้ชม จะต้องควบคุมการแข่งขันทุกระยะโดยตลอด จะต้องป้องกันนักมวยที่อ่อนแอกว่า ไม่ให้ได้รับความบอบช้ำ จนเกินควร และโดยไม่จำเป็น จะต้องตรวจนวม ตรวจเครื่องแต่งกาย และฟันยางของนักมวยก่อนการแข่งขัน ในยกแรกจะต้องให้นักมวยทั้งคู่จับมือ กันกลางเวที และเตือนกติกาที่สำคัญ การจับมือจะกระทำกันอีกครั้งหนึ่งก่อนเริ่มการแข่งขันในยกสุดท้าย ห้ามนักมวยทั้งสอง จับมือกันระหว่างการแข่งขัน

     ผู้ชี้ขาด จะต้องใช้คำสั่ง 3 คำ คือ "หยุด" เมื่อ สั่งให้นักมวยหยุดชก "แยก" เมื่อสั่งให้นักมวยแยกออกจากการกอดรัด และ "ชก" เมื่อสั่งให้นักมวยชกต่อไป ในกรณีที่ผู้ชี้ขาดสั่งแยก นักมวยทั้งสองจะต้องถอยหลังออกมาก่อน อย่างน้อยคนละ 1 ก้าว แล้วจึงจะชกต่อไป

     ผู้ชี้ขาด จะต้องแสดงสัญญาณที่ถูกต้องให้นักมวยที่ละเมิดกติกาทราบ ถึงความผิดของตน เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน จะต้องรวบรวมบัตรให้คะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 3 คนข้างล่างเวที จากนั้น ชี้มุมผู้ชนะตามเสียงคะแนนข้างมาก แล้วชูมือนักมวยผู้ชนะขึ้น นำบัตรคะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 3 คน ให้ประธานผู้ตัดสินตรวจสอบ

 

หน้าที่ของผู้ตัดสิน มวยไทย

     หน้าที่ของผู้ตัดสิน ผู้ตัดสินแต่ละคน จะต้องตัดสินการชกของนักมวยโดยอิสระ และจะต้องตัดสินไปตามกติกา ผู้ตัดสินแต่ละคน จะต้องอยู่คนละด้านของเวที และห่างจากผู้ชม ในระหว่างที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่ ผู้ตัดสินจะต้องไม่พูดกับนักมวย หรือกับผู้ตัดสินด้วยกัน หรือกับบุคคลอื่น ยกเว้นกับกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที ถ้ามีความจำเป็นจะต้องพูดกับกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที ให้ใช้เวลาหยุดพักระหว่างยก แจ้งให้ผู้ชี้ขาดทราบว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เช่น พี่เลี้ยงปฏิบัติผิดมารยาท หรือเชือกหย่อน ซึ่งผู้ชี้ขาด อาจจะไม่สังเกตเห็นในขณะนั้น

     ผู้ตัดสิน จะต้องให้คะแนนแก่นักมวยทั้งสอง ในบัตรบันทึกคะแนน ทันทีที่สิ้นสุดการแข่งขันของแต่ละยก ผู้ตัดสินจะต้องไม่ลุกออกจากที่นั่งให้คะแนน จนกว่าผู้ชี้ขาดจะชูมือตัดสินผลการแข่งขันแล้ว และการแต่งกายของผู้ตัดสิน จะต้องแต่งกายตามที่สภา มวยไทย โลกกำหนด

     จะเห็นได้ว่า ความสำคัญของกรรมการ คือ ผู้ตรวจสอบ และดูความเรียบร้อยตลอดการชกให้เป็นไปตามกฎกติกาที่ต้องถูกต้องที่สุด

 

อำนาจของผู้ชี้ขาด

1. ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่าฝ่ายหนึ่งมีฝีมือเหนือกว่าอีฝ่ายหนึ่งมาก

2. ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่าผู้แข่งขันบาดเจ็บจนไม่สามารถแข่งขันต่อไปได้

3. ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่าผู้แข่งขันไม่แข่งขันจริงจัง ในกรณีนี้อาจให้ผู้แข่งขันคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนออกจากการแข่งขันได้

4. การเตือนผู้แข่งขันหรือหยุดการแข่งขัน เพื่อสั่งตัดคะแนนผู้แข่งขันที่กระทำกฟาวล์ หรือด้วยเหตุอื่น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หรือเพื่อความแน่นอนในการปฏิบัติตามกติกา

5. ให้ผู้แข่งขันที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยฉับพลัน หรือก้าวร้าวผู้ชี้ขาดหรือไม่ร่ายรำไหว้ครูตามประเพณีก่อนการแข่งขันออกจากการแข่งขัน

6. ให้พี่เลี้ยงที่ละเมิดกติกาออกจากหน้าที่ และให้ผู้แข่งขันออกจากการแข่งขันถ้าพี่เลี้ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ชี้ขาด

7. ให้ผู้แข่งขันที่กระทำฟาวล์ออกจากการแข่งขันโดยเตือนตำหนิโทษหรือยังไม่ได้เตือนตำหนิโทษผู้แข่งขันนั้นมาก่อนก็ตาม ถ้ากระทำผิดอย่างรุนแรง

8. หยุดนับในการล้ม ถ้าผู้แข่งขันเจตนาไม่ไปหรือทำชักช้าที่จะไปมุมกลาง

 

9. ตีความกติกาเท่าที่บัญญัตินี้ หรือพิจารณาตัดสิน และปฏิบัติตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

 

จรรยาบรรณของผู้ชี้ขาด และผู้ตัดสิน

  • จะต้องไม่มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต
  • จะต้องไม่ให้ข่าวหรือให้สัมภาษณ์ใด ๆ ที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียในการตัดสิน
  • จะต้องไม่ประพฤติผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรง
  • จะต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนการแข่งขัน 24 ชั่วโมง

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

แนะนำ นักชก มวยไทย ( Muay Thai ) ที่ ค่าตัวแพง

หุ่นสวยด้วยท่าออกกำลังกายในแบบ ฉบับ นักมวย



บทความที่น่าสนใจ

ฝึกออกอาวุธท่าเข่า กับกีฬามวยไทย
กระโดดเชือกช่วยอะไร