กฎ กติกา การแข่งขัน มวยไทย ( Muay Thai ) ที่คุณอาจไม่เคยรู้

กฎ กติกา การแข่งขัน มวยไทย ( Muay Thai ) ที่คุณอาจไม่เคยรู้

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

กฎ กติกา การแข่งขัน มวยไทย ( Muay Thai ) ที่คุณอาจไม่เคยรู้



มวยเป็นกีฬาที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน แต่จะดูแล้วสนุกกว่า ถ้าคุณได้รู้จักกับ กฎ กติกา การแข่งขัน มวยไทย ( Muay Thai ) วันนี้มาดู กติกาต่างๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้

 

 

 

กีฬาทุกๆ ชนิด เมื่อได้ทำการแข่งขัน ก็จะต้องมีการกำหนดกติกา เพื่อมากำหนดควบคุม ในการแข่งขันให้เป็นไปด้วย ความบริสุทธิ์ ยุติธรรม เพื่อเป็นการป้องกันความวุ่นวาย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ มวยไทย ( Muay Thai ) เองก็เช่นกัน เมื่อได้ทำการแข่งขัน นั้นจำเป็น ต้องมีการวางกฎ กติกา ให้ผู้เข้าแข่งขัน นั้นปฏิบัติเหมือนกัน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ และเพื่อความยุติธรรม ให้แก่ผู้เข้าแข่งขันทุกฝ่าย กฎ กติกา มวยไทย ( Muay Thai ) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นกติกาที่ปรับปรุงมาเป็นลำดับเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัยที่แตกต่างกัน  กติกาการแข่งขัน มวยไทย ( Muay Thai ) ฉบับแรกมีใช้เมื่อก่อตั้งสนามมวยราชดำเนินขึ้น อย่างเป็นทางการ โดยมีการปรับปรุงมาจาก กฎ กติกา มวยสากล ที่ได้มีการแข่งขันกันอยู่ในเวลานั้น ก่อนจะค่อยปรับปรุงมาเรื่อยๆ จนถึงยุคปัจจุบัน มี กฎ กติกา ของการแข่งขันที่ได้ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย ให้ใช้โดยทั่วๆ กันทุกๆ สนามเพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานเดียวกัน กฎ กติกา มวยไทย ( Muay Thai ) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุคสมัย ได้แก่

 

มวยไทย ( Muay Thai ) กับกติกาการแข่งขันในสมัยโบราณ

มวยไทย ( Muay Thai ) นั้นมีการฝึกสอน และการแข่งขันในประเทศไทย มาตั้งแต่สมัยอดีต สำหรับ กฎ กติกา ในการแข่งขัน มวยไทย ( Muay Thai ) ในสมัยโบราณ แทบจะพูดได้ว่า ไม่มีกติกาที่แน่นอน การเปรียบเทียบเพื่อชกในอดีตจะยึดหลัก ของความสมัครใจเป็นที่ตั้ง ไม่มีการชั่งน้ำหนัก เพราะว่า ต่างถือว่าขนาดของร่างกาย อายุ น้ำหนัก และส่วนสูงไม่มีความสำคัญมาก เท่ากับฝีไม้ลายมือในชั้นเชิงมวยไทย ( Muay Thai ) ไม่มีการกำหนดยกในการแข่งขันที่แน่นอน นั่นคือ นักมวย ก็จะชกกันจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะไม่สามารถชกต่อได้ ก็ให้ฝ่ายที่ยังยืนอยู่เป็นผู้ชนะ แม่ไม้ มวยไทย ( Muay Thai ) ทุกๆ ท่า นั้นนำมาใช้ในการแข่งขันได้หมด ส่วนเวลาในการชกแต่ละยก ก็สามารถใช้กะลา เพื่อเจาะรูลอยน้ำ เมื่อกะลาจม ก็จะถือว่าหมดยก ทำให้ กฎ กติกา แบบนี้ นั้นไม่มีมาตรฐานเท่าที่ควร นั่นเพราะ กะลามีใบเล็ก ใบใหญ่ ขนาดก็ไม่เท่ากัน และรูที่เจาะ ก็มีรูเล็กรูใหญ่ ที่ไม่เท่ากันอีกด้วย ทำให้กะลาจมลงไปในน้ำ ในเวลาต่างกัน ยังไม่มีการกำหนดมุม เป็นมุมแดง และ มุมน้ำเงิน  ไม่มีชุดที่ใช้ในการแข่งขันเฉพาะใครใส่ชุดใดก็ได้ชุดนั้นแข่งขันได้เลย แต่ให้คาดเชือก ที่หมัดทั้งสองข้าง

 

ซึ่งกล่าวโดยสรุปแล้ว กฎ และกติกา ของการแข่งขัน มวยไทย ( Muay Thai ) ของประเทศไทย ตั้งแต่ในอดีต นั้นมีความไม่แน่นอน โดยจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามสถานการณ์ และเปลี่ยนไป ตามความสมัครใจ ของนักมวย ทั้ง 2 ฝ่าย ถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนา เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และปลอดภัยมากขึ้น

 

มวยไทย ( Muay Thai ) กติกาการแข่งขันในยุคสมัยปัจจุบัน

กติกา มวยไทย ( Muay Thai ) สมัยปัจจุบันจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนครอบคลุมทุกๆ เรื่อง การแข่งขัน มวยไทย ( Muay Thai ) โดยในปัจจุบันนักมวยต้องสวมนวมขนาด  4  ออนซ์ แต่งกายแบบนักกีฬามวยคือ สวมกางเกงขาสั้นสวมกระจับ สวมปลอกรัดเท้าหรือไม่ก็ได้ เครื่องรางของขลังผูกไว้ที่แขนท่อนบนได้ ส่วนเครื่องรางอื่นๆ ใส่ได้เฉพาะตอนร่ายรำไหว้ครู แล้วจากนั้นให้ถอดออกตอนเริ่มทำการแข่งขัน ในการแข่งขันมีกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที 1 คนกรรมการให้คะแนนข้างเวที 2 คน จำนวนยก ในการแข่งขัน จะมีกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที 1 คนกรรมการให้คะแนนข้างเวที 2 คน จำนวนยกในการแข่งขันมี 5 ยก ยกละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที การแข่งขันแบ่งเป็นรุ่นตามน้ำหนักตัวของนักมวยเหมือนกับหลักเกณฑ์ของมวยสากล อวัยวะที่ใช้ในการต่อสู้ อันได้แก่ หมัด เท้า เข่า ศอก เข้าชก เตะ ถีบ ถอง เป็นต้น ได้ทุกส่วนของร่างกายโดยไม่จำกัดที่ที่ชก

 

 

และนี่ก็เป็น กฎ กติกา การแข่งขัน มวยไทย ( Muay Thai ) ที่เราได้นำมาฝาก รับรองเลยว่าการรับชมมวยไทยของคุณ จะสนุกสนานมากขึ้นอย่างแน่นอน

 

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ปั้นหุ่นสวย กล้ามเนื้อกระชับ ด้วยการฝึก มวยไทย ( Muay Thai )

ทักษะที่ได้จากการฝึก มวยไทย



บทความที่น่าสนใจ

มวยไทย 5 สาย มีอะไรกันบ้าง ?
มวยไทย ( Muay Thai ) ฝึกอย่างไรให้ถูกต้อง