อนุรักษ์มวยไทย มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม อันทรงคุณค่า

อนุรักษ์มวยไทย มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม อันทรงคุณค่า

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

อนุรักษ์มวยไทย มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม อันทรงคุณค่า



มวยไทย ( Muay Thai ) เรียกได้ว่าเป็น ศิลปะการต่อสู้ ของชนชาติไทย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความความโดดเด่น เราจึงควรร่วมกัน อนุรักษ์มวยไทย มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม อันทรงคุณค่า และเผยแพร่ ให้ประจักษ์แก่ชาวโลก

 

 

ศิลปแม่ไม้ มวยไทย ( Muay Thai )

แม่ไม้ มวยไทย หมายถึง ท่าของ การผสมผสาน การใช้หมัด เท้า เข่า ศอก เพื่อการรุก หรือ รับในการต่อสู้ด้วย มวยไทย ( Muay Thai ) การใช้ศิลปะไม้มวยไทย ได้อย่างชำนาญ จะต้องผ่านการฝึก เบื้องต้น ในการใช้หมัด เท้า เข่า ศอก แต่ละอย่าง ให้คล่องแคล่วก่อน จากนั้น จึงจะหัดใช้ ผสมผสานกันไป ทั้งหมัด เท้า เข่า ศอก และ ศิลปะการหลบหลีก ซึ่งขึ้นอยู่กับ ครูมวย ที่จะคิด ดัดแปลง พลิกแพลง เพื่อนำไปใช้ ให้ได้ผล แล้วตั้งชื่อท่ามวยนั้น ๆ ตามลักษณะ ท่าทางให้ จดจำได้ง่าย

 

มวยไทย ( Muay Thai ) เมื่อมีท่ามวยมากขึ้น จึงจัดแบ่ง เป็นหมวดหมู่ หรือ ตั้งชื่อ ให้เรียกขานคล้องจองกัน เพื่อลูกศิษย์ จะได้ท่องจำ และ ไม่ลืมง่าย ในอดีต มวยไทย ( Muay Thai ) ไม่ได้ใส่นวม จะชกกัน ด้วยมือเปล่า หรือ ใช้ผ้าดิบ มาพันมือ จึงสามารถ ใช้มือจับคู่ ต่อสู้เพื่อทุ่ม หักหรือบิดได้ นักมวย จึงใช้ชั้นเชิง ในการต่อสู้ มากกว่า การใช้พละกำลัง จึงเกิดท่ามวยมากมาย

 

ต่อมาจึงได้ มีการกำหนด ให้นักมวยไทย ต้องใส่นวม ในขณะขึ้นชก แข่งขัน เช่นเดียวกับทางด้านของ มวยสากล และมีการออกกฎ กติกาต่าง ๆ ออกมามากมาย เพื่อเป็นการป้องกัน อันตรายที่จะเกิดขึ้น แก่นักมวยอีกด้วย และ ง่ายต่อการตัดสิน ท่ามวยไทย ที่มีมาแต่อดีต บางท่าจึงไม่สามารถ นำมาใช้ ร่วมในการแข่งขันได้ ถือว่าผิดกติกา และบางท่า นักมวยก็ไม่สามารถใช้ได้ ถนัดเนื่อง จากมีเครื่องป้องกัน ร่างกายมาก ท่ามวยบางท่า จึงถูกลืมเลือนไปในที่สุด

 

โบราณาจารย์ และ เหล่าผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แบ่งประเภท ของไม้มวยไทย ไว้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ครูมวยแต่ละท่าน ถึงแม้บางท่ามวยไทย จะมีชื่อเรียกต่างกันก็ตาม ไม้มวยไทย ที่ได้มีการกล่าวถึง ในตำรามวยหลายตำรา และได้แบ่งลักษณะ ไว้ชัดเจน นั้นคือ แบ่งตามลักษณะ การแก้ทางมวย และ การจู่โจม เรียกชื่อว่า กลมวย แบ่งตามลักษณะ การใช้ หมัด เท้า เข่า ศอก เรียกว่า เชิงมวย บางตำรา แบ่งเป็นแม่ไม้ลูกไม้ หรือ แบ่งเป็นไม้ครู ไม้เกร็ด

 

ส่วนไม้ครู หมายถึง ไม้สำคัญ เป็นไม้หลัก ที่ครูมวยเน้นให้ลูกศิษย์ทุกคน ต้องทำให้ได้ ทำให้ดี และ ทำให้ชำนาญ เพราะ เมื่อรู้ และ ชำนาญเรื่องไม้ครูแล้ว จะสามารถแตกไม้ครู แต่ละแบบ ออกเป็น ไม้เกร็ด ได้อีกมากมาย

 

แม่ไม้มวยไทย นั้นหมายถึง ท่าของการใช้ศิลปะมวยไทย ที่มีความสำคัญที่สุด อันเป็นพื้นฐาน ของการใช้ ไม้มวยไทย ( Muay Thai ) โดยผู้ฝึกมวยไทย จะต้องเรียนรู้ และปฏิบัติให้ได้ ก่อนที่จะฝึกลูกไม้ ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ ไม้มวยไทยที่ละเอียดขึ้น

 

โบราณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้จัดสรรแบ่ง แม่ไม้มวยไทย เป็น 15 ไม้ ตามนี้

1. จระเข้ฟาดหาง

2. หักงวงไอยรา

3. นาคาบิดหาง

4. วิรุฬหกกลับ

5. ดับชวาลา

6. ขุนยักษ์จับลิง

7. หักคอเอราวัณ

8. สลับฟันปลา

9. ปักษาแหวกรัง

10. ชวาซัดหอก

11. อิเหนาแทงกริช

12. ยอเขาพระสุเมรุ

13. ตาเถรค้ำฝัก

14. มอญยันหลัก

15. ปักลูกทอย

 

นอกจาก แม่ไม้มวยไทยแล้ว ยังมีลูกไม้มวยไทย, กลมวยไทย ที่มีชื่อต่าง ๆ นานา ตามที่ครูอาจารย์มวยได้ประยุกต์ดัดแปลง และผสมผสานในท่าทางที่แตกต่างกันไปอีกกว่าหลายร้อยท่า เรียกได้ว่า เป็นกีฬาที่พิเศษ และอัศจรรย์มาก ๆ อีกทั้ง เราทั้งหลาย ควรอนุรักษ์สืบต่อไปค่ะ เรียนรู้ มวยไทย เพิ่มเติมได้ที่ https://www.jaroenthongmuaythairatchada.com เรามีข้อมูลดี ๆ มาอัปเดตเสมอ หรือสนใจเรียนมวยไทย ก็ติดต่อได้ทันทีค่ะ

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ต่อยมวยช่วยคลายเครียด กับประโยชน์ที่คาดไม่ถึง

เคล็ดลับหุ่นสวย ด้วยการต่อยมวยไทย



บทความที่น่าสนใจ

กีฬาที่ออกกำลังกายแล้วเอาไขมันออกมาที่สุด
มวยไทย ( Muay Thai ) เอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย ที่คุณควรรู้จัก